กลวิธีการชี้แนะ (Coaching Techniques)

กลวิธีในการชี้แนะเป็นความรู้เชิงปฏิบัติ (Practical knowledge) ที่ผู้ชี้แนะได้ค้นพบใน การลงมือปฏิบัติการชี้แนะกับคุณผู้เข้ารับการฝึกในสถานการณ์การทำงานจริง แล้วเก็บเป็น กลวิธีเฉพาะของตนไว้ใช้ในการดำเนินการชี้แนะของตนเอง หากผู้ชี้แนะได้มีเวทีแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การใช้กลวิธีในการชี้แนะเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยขยายประสบการณ์การ ชี้แนะให้กว้างขวางเพิ่มมากขึ้น กลวิธีที่นำเสนอนี้จึงเป็นตัวอย่างบางตอน ดังนี้

1. เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ หมายความว่า การเดินไปสู่จุดหมาย ต้องเริ่มเติมไปทีละ ก้าว ความสำเร็จจึงเกิดอยู่กับทุกก้าวที่เดินไป เป้าหมายของการกินข้าวคือ การอิ่ม แต่ก็ต้อง อาศัยการกินไปทีละคำ เหมือนการดำเนินการชี้แนะ เป็นธรรมดาที่ผู้ชี้แนะและคุณผู้เข้ารับการ ฝึกสามารถตั้งเป้าหมายที่ไปถึงร่วมกันได้ แต่การไปถึงเป้าหมายก็เริ่มจากการทำงานเล็กๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ

2. กลวิธีจับถูก ไม่จับผิด การชี้แนะเน้นไปที่การช่วยคุณผู้เข้ารับการฝึกมองหาว่าทำสิ่ง ใดได้ดี ถูกต้องเหมาะสมแล้วแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตามี เป็นวิธีการที่ช่วยให้คุณผู้เข้ารับการ ฝึกไม่รู้สึกอึดอัด เวลามีผู้ชี้แนะมาทำงานด้วยการจับถูกทำให้คุณผู้เข้ารับการฝึกได้เห็นคุณค่า ในตนเอง และฮึกเหิมที่จะพัฒนางานการเรียนการสอนของตนเองต่อไป

3. กลวิธีปัญหาของใคร คนนั้นก็ต้องแก้ คุณผู้เข้ารับการฝึกมีแนวโน้มพึ่งพาผู้ชี้แนะให้ แก้ไขปัญหาให้ซึ่งหากผู้ชี้แนะตกหลุมพรางอันนี้ก็ต้องคอยแก้ปัญหาให้คุณผู้เข้ารับการฝึกอยู่ ร่ำไป การชี้แนะที่ดีจึงไม่รับปัญหาของคุณผู้เข้ารับการฝึกเข้ามาแก้ไขเสียเอง แต่พยายามช่วย เหลือให้ผู้เข้ารับการฝึกค้นพบวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

4. กลวิธีชมสองอย่าง ชี้จุดบกพร่องหนึ่งอย่าง หากจำเป็นต้องชี้ให้เห็นจุดบกพร่องใน การทำงานก็ต้องใช้ต่อเมื่อคุณผู้เข้ารับการฝึกและผู้ชี้แนะคุ้นเคย ไว้วางใจกันพอสมควร ทั้งคุณ ผู้เข้ารับการฝึกยินดีรับฟังข้อบกพร่องของตนเอง อย่างไรก็ดีผู้ชี้แนะต้องยึดหลักไม่ ติมากกว่า ชมจึงต้องยึดหลักว่าให้ชมในประเด็นที่ทำได้ดีอย่างน้อย 2 เรื่อง และชี้ข้อบกพร่องเพื่อให้ ปรับปรุงเพียงประเด็นเดียวเท่านั้น

5. กลวิธีการถามไม่ต้องหวังคำตอบ การถามคำถามของผู้ชี้แนะ ช่วยให้คุณผู้เข้ารับการ ฝึกได้พิจารณาอย่างรอบด้านมากขึ้น แบบอย่างของคำถามเหล่านี้ช่วยให้คุณผู้เข้ารับการฝึก เก็บไว้ถามตนเองได้ ดังนั้นในบางคำถามต้องอาศัยเวลาในการคิดพิจารณาก็อาจเป็น คำถาม ฝากให้คิดไม่จำเป็นต้องบังคับให้คุณผู้เข้ารับการฝึกต้องตอบให้ได้ในขณะนั้น

6. กลวิธีให้การบ้าน ต้องตามมาตรวจ หลังจากเสร็จสิ้นการชี้แนะในแต่ละครั้ง จำเป็นที่ จะต้องวางแผนร่วมกันสำหรับการชี้แนะในครั้งต่อไป คุณผู้เข้ารับการฝึกต้องนำบทเรียนที่ได้ครั้ง นี้ไปปรับปรุงการสอนของตนเองเป็นเหมือนการให้การบ้านไว้ แล้วก็กลับมาตรวจดูว่าสามารถ ปรับปรุงได้ดีเพียงใดเพื่อหาทางชี้แนะต่อไป ไม่ให้การบ้านแต่ให้การทำงานในชั้นเรียน/ โรงเรียน (Seat work/ Authentic performance) ที่ผู้เข้ารับการฝึกมีโอกาสได้พบเห็น พฤติกรรมการทำงาน ความตั้งใจ มุ่งมั่น (AQ) ตามศักยภาพและการบริหารอารมณ์ของ นักเรียน (EQ)

7. กลวิธีถ้าจะบอก ต้องมีทางเลือก การบอกวิธีการแก้ปัญหาให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกใช้ใน สถานการณ์ที่มีเวลาจำกัด หรือในกรณีที่ผู้เข้ารับการฝึกมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนบางประการ ผู้ชี้แนะอาจเลือกใช้วิธีการบอกหรือสั่งให้ทำ อย่างไรก็ตามในวิธีที่บอกหรือสั่งนั้น ควรมีอย่าง น้อย 2 ทางเลือก เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกสามารถตัดสินใจเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพที่ เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด

8. กลวิธีแกล้งทำเป็นไม่รู้ ผู้ชี้แนะอาจทำบทบาทของผู้ที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ให้ผู้เข้ารับการฝึก ช่วยอธิบายหรือให้คำแนะนำก็จะช่วยพัฒนาความสามารถของผู้เข้ารับการฝึกได้ดีทีเดียว 9. กลวิธีอดทนฟังให้ถึงที่สุด ในบางกรณีที่ผู้เข้ารับการฝึกอาจมีเรื่องมากมายที่อยาก บอกเล่าให้ผู้ชี้แนะฟังหลายเรื่องอาจไม่เข้าท่า หากแต่ผู้ชี้แนะสามารถอดทนฟัง โดยไม่ตัดบท หรือแทรกแซง ก็จะได้เข้าใจความคิดของผู้เข้ารับการฝึกมากขึ้น บางทีคุณผู้เข้ารับการฝึกก็อาจ ได้คิดทบทวนในสิ่งที่ตนเองพูดมาได้บ้าง

10. กลวิธีเราเรียนรู้ร่วมกัน ผู้ชี้แนะไม่จำเป็นต้องรู้ไปเสียทุกเรื่อง ผู้ชี้แนะไม่จำเป็นต้อง เก่งกว่าผู้เข้ารับการฝึกแต่ถือว่าทั้งผู้ชี้แนะและผู้เข้ารับการฝึกสามารถเรียนรู้จากกันและกันได้ เสมอ ปัญหาบางเรื่องที่ต่างไม่เข้าใจก็ต้องมาช่วยกันหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน (เฉลิมชัย พันธ์ เลิศ, 2550)

สรุป

บทส่งท้าย (Enduring Understanding/Coaching Theme) 1. บทความนี้เขียนในลักษณะคำพูดคุยฉีกแนวกับการเขียนที่ยึดถือหลักวิชาการไปบ้าง เพราะคำนิเทศชี้แนะใช้ศิลปะการพูดคุยระหว่างศึกษานิเทศก์กับผู้เข้ารับการฝึกแบบ กัลยาณมิตรเป็นสำคัญ 2. การชี้แนะเป็นกระบวนการเชิงลึกที่ไม่อาจเรียนรู้ได้ด้วยการอ่านหรือศึกษาจาก เอกสารได้เพียงเท่านั้น หากแต่ความรู้ที่แท้จริงคือ การได้ลงมือปฏิบัติการชี้แนะจริง ๆ ภายใต้ การมีวิธีคิด และระบบคิดที่มีประสิทธิภาพมีทักษะและความคล่องแคล่วชำนาญการ กล่าวคือ ทำ ในสิ่งที่ถูกต้องและด้วยวิธีการที่ถูกต้อง จึงเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Do the right things and do the things right)


แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 เมษายน พ.ศ. 2563, 17:20 น.