COACHING SUPERVISION

การนิเทศหรือการนิเทศการศึกษา เป็นการดำเนินการโดยผู้มีประสบการณ์ในการใช้ กระบวนการหรือวิธีการต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือ อำนวยการ กำกับ ดูแล เพื่อคุณผู้เข้ารับ การฝึกสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถได้ตามเป้าหมาย ขององค์กร เป็นโครงสร้างใหญ่ที่ มีกลไกลและเทคนิคที่เหลากหลาย ซึ่งล้วนอยู่ในกระบวนการนิเทศการศึกษาทั้งสิ้น

การเป็นพี่เลี้ยง ให้คำปรึกษา เป็นวิธีการที่ผู้ที่มีประสบการณ์ให้ความช่วยเหลือผู้ที่มี ประสบการณ์น้อยกว่าให้ได้รับการพัฒนาทั้งเรื่องวิชาชีพและการดำเนินชีวิตให้พัฒนาไปสู่เป้า หมายที่ได้วางไว้ร่วมกัน

การฝึกอบรม เป็นวิธีการให้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน โดยมีหลักสูตรและวิธีการใน การดำเนินการเฉพาะให้ได้ผลตามมาตรฐานที่วางไว้

การชี้แนะ เป็นวิธีการในการพัฒนาสมรรถภาพการทำงานของคุณผู้เข้ารับการฝึก โดย เน้นไปที่การทำงานให้ได้ตามเป้าหมายของงานนั้น หรือการช่วยให้สามารถนำความรู้ความ เข้าใจที่มีอยู่และ/หรือได้รับการฝึกอบรมมาไปสู่การปฏิบัติได้

บทบาทการนิเทศและการเป็นพี่เลี้ยง มีลักษณะเป็นบทบาทใหญ่หรือทั่วไป มีบทบาทย่อย ซ้อนอยู่มากมาย ได้แก่ การประสานกับกลุ่มบุคคลเพื่อมาช่วยเหลือการจัดการเรียนการสอนของ คุณผู้เข้ารับการฝึก ประสานผู้บริหารในเรื่องนโยบาย การอำนวยความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ และการวางระบบการทำงานร่วมกัน

บทบาทการฝึกอบรมและการชี้แนะ มีลักษณะเป็นบทบาทย่อยหรือเฉพาะของการนิเทศ และการเป็นพี่เลี้ยง เป็นบทบาทที่ทำงานในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของผู้เข้ารับการ ฝึกโดยตรง

บทบาทการนิเทศและการฝึกอบรม เป็นการทำงานที่เน้นมาตรฐานของงานนั้น กล่าวคือ มีมาตรฐานและตัวชี้วัดไว้ แล้วดำเนินการพัฒนาให้เกิดผลตามมาตรฐานนั้น แต่ในมิติของการ นิเทศและการฝึกอบรมนั้นเน้นไปที่การช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ นิเทศหรืออบรมเป็นหลัก และเป็นบทบาทที่ใช้กับคุณผู้เข้ารับการฝึก กลุ่มใหญ่หรือมีจำนวนมาก

บทบาทการเป็นพี่เลี้ยงและการชี้แนะ เป็นการทำงานที่เน้นตามศักยภาพหรือความ สามารถของบุคคล เป็นการช่วยให้คุณผู้เข้ารับการฝึกนำความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่หรือที่ได้รับ จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติให้เกิดผล ดังนั้นจึงใช้ในการพัฒนากลุ่มคนจำนวนน้อยอย่างเข้มข้น ตามประกบการทำงานอย่างใกล้ชิด เช่น สังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน พิจารณาผลงานนักเรียน ร่วมกันกับผู้เข้ารับการฝึกเป็นการพัฒนาในบริบทการทำงานในโรงเรียน

บทบาททั้งหมดมีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน การพัฒนาผู้เข้ารับการฝึก จำเป็นต้องอาศัย บทบาทต่างๆ ในจังหวะที่เหมาะสมมาใช้อย่างผสมผสานกัน โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ การ ช่วยให้เกิดผลในการปฏิบัติในชั้นเรียนที่ยั่งยืนได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อพบว่าอุปสรรคที่ทำให้การสอนกระบวนการคิด เกิดจากนักเรียนมีปัญหาเรื่องสุขภาพ อนามัยทำให้คิดไม่ได้ดี ก็ใช้บทบาทการนิเทศ ประสานผู้ที่เกี่ยวข้องมาใช้ความช่วยเหลือหา ทางแก้ปัญหา

ในการจัดการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการสอนกระบวนการคิดให้แก่ผู้เข้า รับการฝึก ต้องใช้บทบาทในการออกแบบการจัดการฝึกอบรมที่ช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการสอนกระบวนการคิด

เมื่อผู้เข้ารับการฝึกกลับไปที่โรงเรียนเพื่อนำความรู้ใหม่ที่ได้ไปจัดการเรียนการสอน ก็ต้องอาศัยบทบาทการชี้แนะที่ไปช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่ได้ไปสู่การเรียน การสอนของตนเองให้ได้

ต่อมาเมื่อดำเนินการชี้แนะไปสักระยะ พบว่าผู้เข้ารับการฝึกยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ จำเป็นที่ทำให้การสอนกระบวนการคิดยังไม่ดีนัก เช่น มีปัญหาเรื่องการใช้คำถามกระตุ้นคิด เรื่องการใช้เครื่องมือส่งเสริมการคิด (Thinking tools) ก็อาจมีการจัดอบรมในเรื่องเฉพาะเพิ่ม เติมแล้วตามไปชี้แนะต่อ จึงเป็นวงจรที่ต่อเนื่องสลับกันไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ดัง แผนภาพ


ด้วยเหตุที่ภาษาที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า Train แปลว่า รถไฟ และ Coach แปลว่า รถม้า เลยพูดกันว่าการพาผู้เข้ารับการฝึกไปสู่จุดหมายที่วางไว้ต้องใช้พาหนะหลายอย่างที่สำคัญคือ รถไฟ กับรถม้า ต้องพานั่งรถไฟ แล้วต่อรถม้าอยู่หลายเที่ยวจึงจะถึงเป้าหมายที่ต้องการ และมี ข้อเตือนใจว่าการใช้พาหนะอย่างเดียว วิธีการเดียวไปถึงเป้าหมายได้ยาก

นอกจากวิธีการและบทบาทดังกล่าวแล้ว เรื่องของทิศทางหรือเป้าหมายอันเป็นดวงดาว ในการพัฒนาก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ต้องมีความชัดเจน ท้าทายแต่ไปถึงได้ ทุกคนต่างพร้อม กันและฟันฝ่าอุปสรรคร่วมกันถึงเป้าหมายด้วยกัน


แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 เมษายน พ.ศ. 2563, 17:18 น.